

เครื่องแต่งกายไทย
“ยุคก่อนรัตนโกสินทร์“
สมัยอยุธยา สมัยที่ 2 (พ.ศ. 2034 – 2171)
ลักษณะชุด
ผู้หญิง
- ชาวบ้าน สวมเสื้อแขนกระบอก คอกลม ผ่าอก นุ่งผ้าโจงกระเบนหรือกางเกง ห่มสไปแต่ไม่นิยมมากนัก
- ชาววัง สวมเสื้อคอแหลม มีผ้าคล้องไหล่ นุ่งผ้าโจงกระเบนหรือกางเกง ห่มสไบ
การห่มสไบ
- พันรอบตัวเหน็บชาย
- ห่มสไบเฉียง พันรอบอก 1 รอบ แล้วทิ้งชายไปด้านหลัง
- แบบสะพัก สองบ่า ใช้พันรอบตัวแล้วทับกันที่อก ปล่อยชายไปด้านหลังสองข้าง
- แบบคล้องไหล่ปล่อยชายไปด้านหลังสองชาย
- แบบคล้องคอปล่อยชายไว้ด้านหน้า
- แบบห่มคลุม
ผู้ชาย
- ชาวบ้าน ไม่สวมเสื้อ มีผ้าคล้องไหล่ นุ่งผ้าโจงกระเบน
ส่วนประกอบชุด
ผู้หญิง
- ชาวบ้าน เสื้อ โจงกระเบนหรือกางเกง
- ชาววัง เสื้อ ผ้าคล้องไหล่ โจงกระเบนหรือกางเกง
ผู้ชาย
- ชาวบ้าน ผ้าคล้องไหล่ โจงกระเบน
ทรงผม
ผู้หญิง
ผมยาวเกล้ามวยบนศีรษะ และตัดผมสั้นหวีเสยขึ้นไปเป็นผมปีก
ผู้ชาย
ตัดผมสั้น แสกกลาง

ภาพการแต่งกายหญิงและชาย สมัยอยุธยา (สมัยที่ 2)