

เครื่องแต่งกายไทย
“ยุคก่อนรัตนโกสินทร์“
สมัยอยุธยา สมัยที่ 3 (พ.ศ. 2173 – 2275)
ลักษณะชุด
ผู้หญิง
- ชาวบ้าน นุ่งผ้าจีบห่มสไบแบบเฉียง แบบรัดอก หรือห่มตะเบงมาน (สำหรับเวลาทำงาน บุกป่า ออกรบ) นุ่งผ้าจีบ
- ชาววัง นุ่งผ้าซิ่น สวมเสื้อแขนกระบอก คอแหลม ผ่าอก แขนกระบอกยาวถึงข้อมือ
ผู้ชาย
- ชาวบ้าน และชาววัง สวมเสื้อแขนยาว คอกลม ผ่าอก แขนยาวถึงข้อมือ มีผ้าขาวม้าคล้องคอตลบชายไปด้านหลัง นุ่งผ้าโจงกระเบน งานพิธีสวมเสื้อยาวถึงเข่า ติดกระดุมด้านหน้า แขนเสื้อกว้าง และสั้นไม่ถึงศอก สวมหมวก ขุนนางจสวมลอมพอกยอดแหลม สวมรองเท้าแตะปลายแหลมแบบแขกมัวร์
ส่วนประกอบชุด
ผู้หญิง
- ชาวบ้าน สไบ ผ้านุ่ง เสื้อแขนกระบอก
- ชาววัง เสื้อ ผ้านุ่ง ผ้าซิ่น
ผู้ชาย
- ชาวบ้าน เสื้อ ผ้าคล้องไหล่ โจงกระเบน
- ชาววัง เสื้อ ผ้าคล้องไหล่ โจงกระเบน
ผ้าที่ใช้
ผู้หญิง
ผ้าพื้น ผ้าแกมไหม ผ้าไหม
ผู้ชาย
ผ้าขาวม้าคล้องไหล่ ผ้าพื้น ผ้าแกมไหม ผ้าไหม ผ้าสมปักปูมสำหรับเข้าเฝ้าและขุนนาง
ทรงผม
ผู้หญิง
- ชาวบ้าน ผมทรงปีก หรือผมทรงดอกกระทุ่มไม่โกนท้ายทอยปล่อยผมยาวรากไทร
- ชาววัง ได้แบบอย่างการไว้ผมแบบหญิงพม่า และล้านนาไทย คือ ผมยาว เกล้ามวยบนศีรษะ มีพวงมาลัยสวมรอบมวย หรือปล่อยผมยาว
ผู้ชาย
- ชาวบ้าน ผมสั้นทรงมหาดไท
- ชาววัง ผมทรงมหาดไทย
เครื่องประดับ
ผู้หญิง
ปักปิ่นทองที่มวยผม สวมแหวนหลายวง สร้อยคอ สร้อยข้อมือ

ภาพการแต่งกายหญิงและชาย สมัยอยุธยา (สมัยที่ 3)